วันอังคารที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ใบงานที่6 ข้อสอบ7 วิชาสามัญ

 

7 วิชาสามัญ


7 วิชาสามัญ คืออะไร


        สทศ. บอกมาว่าเป็นข้อสอบที่ยากกว่า O-NET แต่ง่ายกว่า GAT PAT จัดทำขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาในอดีตที่สมัยก่อนหากเด็ก ม.6 สมัครรับตรง 5 ที่ ก็ต้องวิ่งหัวฟูไปสอบ 5 ครั้ง แต่หากเป็นปีนี้สบายมาก ไม่ว่าจะสมัครกี่ที่ ก็สอบแค่ครั้งเดียวจบ คือ สอบ 7 วิชาสามัญครั้งเดียว ชุดเดียว ทั่วประเทศจบไปเลย โดย 7 วิชาสามัญนี้แต่ละคณะจะสอบไม่เท่ากันนะครับ บางคณะก็สอบหมด 7 วิชา บางคณะก็สอบแค่ 3 ดังนั้น น้องๆ ต้องไปดูในระเบียบการรับตรงแต่ละมหาวิทยาลัย ว่าคณะที่เราจะเข้า เขาได้มากำหนดให้สอบวิชาไหน ส่วนมหาวิทยาลัยไหนไม่กำหนด ก็ไม่ต้องสอบ

ทำไม สทศ.จึงจัดสอบ 7 วิชาสามัญ


       สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ  (องค์การมหาชน) ได้รับมอบหมายจากที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทยให้จัดการทดสอบวิชาสามัญเพื่อให้มหาวิทยาลัยต่างๆ นำคะแนนไปใช้ประกอบการรับบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาในระบบรับตรงผ่านเคลียริ่งเฮ้าส์ (Clearing House)

คุณสมบัติของผู้สมัครของผู้สมัคร 7 วิชาสามัญ เป็นอย่างไร


        คุณสมบัติของผู้สมัครของผู้สมัคร 7 วิชาสามัญ  เป็นผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้น ม.6 หรือ เทียบเท่า หรือ สูงกว่า ม.6 ขึ้นไป

7 วิชาสามัญ มีกี่วิชา อะไรบ้าง


        การสอบ 7 วิชาสามัญ มีทั้หมด 7 วิชา ดังนี้
  1. ภาษาไทย 
  2. สังคมศึกษา 
  3. ภาษาอังกฤษ
  4. คณิตศาสตร์ 
  5. ฟิสิกส์ 
  6. เคมี
  7. ชีววิทยา 

ข้อสอบและเฉลย วิชาสามัญ 7 วิชา 55

1. คณิตศาสตร์ 

2. ฟิสิกส์ + เฉลย

3. เคมี

4. ชีววิทยา

5. ภาษาไทย

6. สังคมศึกษา

7. ภาษาอังกฤษ + เฉลย

 

 

 

 


cr.https://dekrean.wordpress.com/admission/7%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%8D-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3/
cr.http://www.niets.or.th/index.php/faq/view/14
cr.http://p-dome.com/7-w-55-57/
cr.https://www.youtube.com/watch?v=P4-cI4FsZ28

วันจันทร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

กิจกรรมที่ 2

 

ประเภทของโครงงานคอมพิวเตอร์


   คอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยในทุก ๆ สาขาวิชา ดังนั้นโครงงานคอมพิวเตอร์จึงมีความหลากหลายเป็นอย่างมาก ทั้งในลักษณะของเนื้อหา กิจกรรม และลักษณะของประโยชน์หรือผลงานที่ได้ ซึ่งอาจแบ่งเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 5 ประเภท คือ

1.โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา (Educational Media)


  

    เป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการผลิตสื่อเพื่อการศึกษา โดยการสร้างโปรแกรมบทเรียน หรือหน่วยการเรียน ซึ่งอาจจะต้องมีภาคแบบฝึกหัด บททบทวน และคำถามคำตอบไว้พร้อม ผู้เรียนสามารถเรียนแบบรายบุคคลหรือรายกลุ่ม การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยนี้ ถือว่าเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์การสอน ไม่ใช่เป็นครูผู้สอน ซึ่งอาจเป็นการพัฒนาบทเรียนแบบ Online ให้นักเรียนเข้ามาศึกษาด้วยตนเองก็ได้
     โครงงานประเภทนี้สามารถพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ประกอบการสอนในวิชาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสาขาคอมพิวเตอร์ วิชาคณิตศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์ วิชาสังคม วิชาชีพอื่น ๆ ฯลฯ โดยนักเรียนอาจคัดเลือกหัวข้อที่นักเรียนทั่วไปที่ทำความเข้าใจยาก มาเป็นหัวข้อในการพัฒนาโปรแกรมบทเรียน
     ตัวอย่างเช่น โปรแกรมทดสอบวิชาคณิตศาสตร์  โปรแกรมสอนภาษาอังกฤษ

2.โครงงานพัฒนาเครื่องมือ (Tools Development) 


    
     เป็นโครงงานเพื่อพัฒนาเครื่องมือมาใช้ช่วยสร้างงานประยุกต์ต่าง ๆ ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเป็นในรูปซอฟต์แวร์
     ตัวอย่างเช่น  โปรแกรมแต่งรุปภาพ โปรแกรมการค้นหาคำภาษาไทย

3. โครงงานประเภทจำลองทฤษฎี (Theory Experiment)


     เป็นโครงงานใช้คอมพิวเตอร์ในการจำลองการทดลองของสาขาต่าง ๆ เป็นโครงงานที่ผู้ทำต้องศึกษารวบรวมความรู้ หลักการ ข้อเท็จจริงและแนวความคิดต่าง ๆ อย่างลึกซึ้งในเรื่องที่ต้องการศึกษา แล้วเสนอเป็นแนวคิด แบบจำลอง หลักการ ซึ่งอาจอยู่ในรูปของสมการ สูตร หรือคำอธิบายก็ได้ พร้อมทั้งนำเสนอวิธีการจำลองทฤษฎีด้วยคอมพิวเตอร์ การทำโครงงานประเภทนี้มีจุดสำคัญอยู่ที่ผู้ทำต้องมีความรู้เรื่องนั้น ๆ เป็นอย่างดี
     ตัวอย่างเช่น  ผลการปลูกข้าวในสภาวะแวดล้อมที่ต่างกัน   การทดลองเรื่องพฤติกรรมของปลาอโรวาน่า

4. โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน(Application)


     เป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการสร้างผลงานเพื่อประยุกต์ใช้งานจริงในชีวิตประจำวัน
     ตัวอย่างเช่น  โปรแกรมระบบฐานข้อมูลทางการแพทย์เบื้องต้น  เครื่องให้อาหารไก่ไข่อัตโนมัติ

5. โครงงานพัฒนาเกม (Game Development)


     เป็นโครงงานพัฒนาซอฟต์แวร์เกมเพื่อความรู้ และ/หรือ ความเพลิดเพลิน ซึ่งเกมที่พัฒนาขึ้นนี้น่าจะเน้นให้เป็นเกมที่ไม่รุนแรง เน้นการใช้สมองเพื่อฝึกคิดอย่างมีหลักการ โครงงานประเภทนี้จะมีการออกแบบลักษณะและกฎเกณฑ์การเล่น เพื่อให้น่าสนใจเก่ผู้เล่น พร้อมทั้งให้ความรู้สอดแทรกไปด้วย ผู้พัฒนาควรจะได้ทำการสำรวจและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเกมต่าง ๆ ที่มีอยู่ทั่วไปและนำมาปรับปรุงหรือพัฒนาขึ้นใหม่เพื่อให้ป็นเกมที่แปลกใหม่ และน่าสนใจแก่ผู้เล่นกลุ่มต่าง ๆ
     ตัวอย่างเช่น   เกมหมากฮอส  เกมตัวต่อ


cr.https://www.youtube.com/watch?v=nqESB3dwZTY
cr.http://www.acr.ac.th/acr/ACR_E-Learning/CAREER_COMPUTER/COMPUTER/M4/ComputerProject/content1.html
cr.https://krumewstp.wordpress.com/%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%A1/